วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การตลาดมะละกอในประเทศและต่างประเทศ
ปกติแล้ว มะละกอ เป็นพืชที่สามารถออกดอกติดผลได้ตลอดปี แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีผลผลิตออกสู้ตลาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม และมกราคม มิถุนายน สำหรับช่วงเดือนกรกฎาคม ตุลาคม จะมีการผลิตน้อยและราคาแพงเนื่องจากเป็นฤดูฝน ทำให้ผลมะละกอเน่าเสียก่อนจะมีการเจริญเติบโตเต็มที่ การปลูกมะละกอส่วนใหญ่ยังเป็นการปลูกเพื่อนบริโภคภายในประเทศถึงร้อยละ 80 ของผลิตที่ได้ทั้งหมด ส่วนที่เหลือจะส่งออกไปขายยังต่างประเทศ

ตลาดภายในประเทศ
มะละกอ เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่กำลังมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ในปีหนึ่งๆคนไทยนิยมบริโภคมะละกอเป็นจำนวนมาก ทั้งในรูปของมะละกอผลสุก ผลดิบ และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับจากมะละกอ โดยเฉพาะประชาชนคนไทยที่อยู่ภาคตะวันออกฉียงเหนือนั้น มีความต้องการบริโภคผลมะละกอดิบในรูปของส้มตำมากที่สุด
        

        การซื้อขายผลผลิตส่วนใหญ่จะมีพ่อค้าในท้องถิ่นซึ่งเป็นขาประจำ เข้าไปรับซื้อทั้งในรูปผลดิบและผลสุก ถึงแหล่งปลูกโดยตรง วิธีการซื้ออาจจะใช้วิธีเหมาซื้อเป็นสวนๆ หรือชั่งน้ำหนักคิดเป็นกิโลกรัมก็แล้วแต่จะตกลงกัน ผลผลิตทั้งหมดจะถูกส่งไปขายให้พ่อค้าคนกลางในตลาดกลางผลไม้ใหญ่ใน กรุงเทพมหานคร เช่น ปากคลองตลาด ส่วนมะละกอที่เหลือจะส่งให้พ่อค้าส่งออก หรือ ไม่ก็จำหน่ายให้ผู้บริโภคภายในท้องถิ่นหรือจังหวัดใกล้เคียง โดยส่งให้กับภัตตาคารหรือร้านอาหาร ตลอดจนพ่อค้าแม่ค้าที่ขายผลไม้สด หรือ วางขายบริเวณริมถนนต่างๆ ในท้องถิ่นนั้น
        พ่อค้าขายปลีกหรือผู้ส่งออกจะมารับซื้อมะละกอจากพ่อค้าคนกลางในตลาดกลางผลไม้ดังกล่าว ไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภค ถ้าเป็นมะละกอดิบ ส่วนใหญ่ตลาดขายปลีกตลาดขายปลีกจะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนในภาคนี้นิยมบริโภคส้มตำกันมาก จนอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นอาหารหลักประจำวัน ส่วนมะละกอสุกก้จะวางขายตามตลาดสดในแหล่งชุมชนต่างๆตลอดจนแหล่งมีผู้คนพลุกพล่าน หรือตามริมทางเดินต่างๆทั่วไป

ตลาดต่างประเทศ
ปัจจุบันการปลูกมะละกอมิได้มุ่งหวังเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งปลูกเพื่อการส่งออกจำหน่ายในต่างประเทศอีกด้วย ชาวสวนมะละกอส่วยใหญ่ได้พยายามปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นและมีคุณภาพดี สามารถแข่งขันกับผลไม้อื่นในตลาดต่างประเทศได้ ในแต่ละปีประเทศไทยได้ส่งออกมะละกอสดทั้งในรูปผลสุกและผลดิบไปขายยังตลาดต่างประเทศ สามารถทำรายได้นำเงินตราเข้าสู่ประเทศเฉลี่ยปีละประมาณ 60 – 70 ล้านบาท จึงนับว่ามะละกอเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่เริ่มมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย

ถ้าหากจะแบ่งตลาดต่างประเทศตามกลุ่มของประเทศผู้รับซื้อแล้ว พอจะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ คือ
1.     ตลาดในเอเชีย ที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ศรีลังกา บรูไน ตลาดนี้นับเป็นตลาดรับซื้อมะละกอแหล่งใหญ่ที่สุด โดยเฉพาะ ฮ่องกงเพียงประเทศเดียวก็รับซื้อมะละกอจากประเทศไทยถึงร้อยละ 80 ปี ของปริมาณมะละกอที่ส่งออก ส่วนประเทศที่เหลือนอกนั้นมีปริมาณรับซื้อเพียงเล็กน้อยและไม่ค่อยสม่ำเสมอ
2.     ตลาดในแถบตะวันออกกลาง มีประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ นอกนั้นได้แก่สาธารณรัฐอาหรับอามิเรสต์ คูเวต บาห์เรน ส่วนใหญ่จะซื้อในรูปของมะละกอดิบจึงเข้าใจว่าเพื่อให้แก่คนงานไทยที่ไปทำงานในประเทศเหล่านี้จำนวนมากบริโภค
3.     ตลาดในแถบทวีปยุโรปและอเมริกา มีประเทศฝรั่ง เบลเยี่ยม สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ แคนาดา สหรัฐอเมริกา เป็นกลุ่ม ประเทศที่อยู่ห่างไกลและยังมีปริมาณรับซื้อไม่มากนัก แต่ก็เป็นกลุ่มประเทศที่น่าสนใจในการขยายตลาดออกไปอีก รวมทั้งผักผลไม้สดอื่น แต่ผลผลิตจะต้องคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดเหล่านี้ ซึ่งเลือกซื้อแต่สินค้าที่มีคุณภาพ

อ้างถึง : การตลาดมะละกอในประเทศและต่างประเทศ

http://tamkaset.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%ad.html

1 ความคิดเห็น: